BPS News
BPS News
ด้วยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. จะดำเนินการจัดทำข้อเสนอการวิจัย ในภาพรวมของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเสนอขอรับงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund : FF) จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับจัดทำข้อเสนอการวิจัยในภาพรวมของหน่วยงาน ที่ครบถ้วนและชัดเจนใช้สำหรับขอรับการสนับสนุนงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 รวมถึงเสร็จทันตามกรอบระยะเวลาที่ สกสว. กำหนด จึงขอความร่วมมือหน่วยงานในสังกัดที่มีความประสงค์ยื่นเสนอข้อเสนอการวิจัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ทั้งนี้สามารถ ดูรายละเอียดและดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ QR Code ที่แนบมาพร้อมนี้
รายละเอียด
วันที่ 12 เมษายน 2566 นายโกเมศ กลั่นสมจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยบุคลากรของ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. เข้าร่วมพิธีรดน้ำขอพรผู้อาวุโสเนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ ประจำปี 2566 “ประเพณีสงกรานต์ ศึกษาธิการสืบสานวัฒนธรรมไทย” โดยมี นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) เป็นประธาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับองค์กรหลัก และหน่วยงานในกำกับ ตลอดจน ข้าราชการ และบุคลากรในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
รายละเอียด
วันที่ 11 เมษายน 2566 นายโกเมศ กลั่นสมจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวทัศนีย์ พิศาลรัตนคุณ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยบุคลากรของ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. เข้าร่วมพิธีรดน้ำดำหัวผู้บริหารระดับกระทรวงศึกษาธิการ นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายสุทิน แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และนายยศพล เวณุโกเศศ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรม เนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ พ.ศ. 2566 ณ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
รายละเอียด
วันที่ 11 เมษายน 2566 บุคลากรของ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. เข้าร่วมรดน้ำดำหัว นายโกเมศ กลั่นสมจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรม เนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ ปี พ.ศ. 2566
รายละเอียด
วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2566 นายโกเมศ กลั่นสมจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. มอบหมายให้ข้าราชการและบุคลากรสังกัดสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 132 รูป ในงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 131 ปี ณ บริเวณสนามหญ้ากระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ และเกิดความเป็นสิริมงคล
รายละเอียด
วันที่ 9 -10 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. ได้ดำเนินโครงการจัดทำดัชนีทางการศึกษา ระดับภาค 1-18 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีนายโกเมศ กลั่นสมจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. เป็นประธานพิธีเปิดโครงการและมอบแนวทางการดำเนินงาน โดยเน้นย้ำใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ความครอบคลุมของดัชนีทางการศึกษากับภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 2. ความเชื่อมโยงของดัชนีทางการศึกษากับแผนระดับต่าง ๆ 3. ความรวดเร็วและทันการณ์ของการนำดัชนีไปใช้ประโยชน์ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้จัดทำดัชนีทางการศึกษา แบ่งออกเป็น 5 ด้าน จำนวน 14 ดัชนี ดังนี้ 1. ด้านการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา (Access) 5 ดัชนี 2. ด้านความเท่าเทียมทางการศึกษา (Equity) 2 ดัชนี 3. ด้านคุณภาพการศึกษา (Quality) 3 ดัชนี 4. ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) 2 ดัชนี 5. ด้านการตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy) 2 ดัชนี
รายละเอียด
กระทรวงศึกษาธิการ 8 กุมภาพันธ์ 2566 – นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมเตรียมข้อมูลประกอบการอภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 152 ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์นี้ รองปลัด ศธ. กล่าวว่า ที่ประชุมได้จัดเตรียมข้อมูลประกอบการอภิปรายทั่วไป มาตรา 152 ในส่วนของนโยบายและผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ ใน 6 ประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1. ความปลอดภัยของผู้เรียน MOE Safety Centerศธ.ได้จัดตั้ง “ศูนย์ความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ” เพื่อช่วยเหลือดูแลนักเรียน นักศึกษา ให้มีความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงสร้างทักษะให้ดูแลตนเองจากอันตรายทางสังคมตาม 3 มาตรการ “ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม” ผ่านแพลตฟอร์ม ต่าง ๆ ในการแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัยและติดตามข่าวสาร การแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กและเยาวชนศธ.ให้ต้นสังกัดทั้งรัฐและเอกชนเร่งสร้างการรับรู้ความเข้าใจที่มาจากบุหรี่ไฟฟ้า ยึดกฎ ระเบียบ เช่นเดียวกับการห้ามสูบบุหรี่ธรรมดา ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาเป็นเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด พร้อมออกมาตรการและนโยบายให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมขับเคลื่อนระหว่างโรงเรียนกับชุมชน แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาหรือกัญชงในสถานศึกษา ส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัดหรือในกำกับของ ศธ.มีการประกาศแนวทางการปฏิบัติ ห้ามนักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากรในส่วนราชการใช้กัญชาหรือกัญชง (ยกเว้นภายใต้การควบคุมของแพทย์) ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกัน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขตามกระบวนการ 5 ด้าน “ป้องกัน ค้นหา ดูแลบำบัดรักษา เฝ้าระวัง และบริหารจัดการ” โดยร่วมกำกับควบคุมร้านค้าที่จำหน่ายบริเวณสถานศึกษา ส่วนราชการ และร่วมพัฒนาองค์ความรู้จัดทำคู่มือ “รู้คิด รู้ทันป้องกันยาเสพติด Be Smart Say No To Drugs” การบูลลี่ในโรงเรียนศธ.ได้ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาบูลลี่ในสถานศึกษาอย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยวางมาตรการต่าง ๆ ให้รัดกุม สร้างการรับรู้ให้เด็กนักเรียนพร้อมรับมือ และให้ครูที่มีบทบาทหน้าที่ช่วยงดูแลพฤติกรรมนักเรียนอย่างทั่วถึง แนะแนวปัญหาสุขภาพจิตให้เด็กกล้าพูด กล้าระบายปัญหาต่าง ๆ โดยไม่เปิดเผยข้อมูล เพื่อให้นักเรียนมีความปลอดภัยในทุกมิติ การล่วงละเมิดทางเพศนักเรียน ศธ.ได้กำชับสถานศึกษาเรื่องการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ หากครูและบุคลากรทำผิดต้องดำเนินการทางกฎหมายและลงโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด ส่วนนักเรียนผู้ถูกกระทำ ต้องเข้าไปช่วยเหลือดูแลเยียวยาจิตใจ โดยครูแนะแนว นักจิตวิทยา และหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกับผู้ปกครอง 2. คุณภาพการศึกษา โครงการโรงเรียนคุณภาพศธ.พัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อให้นักเรียนเข้าถึงคุณภาพ มีทักษะหลากหลายด้าน เมื่อจบหลักสูตรสามารถประกอบอาชีพได้ มีกลุ่มเป้าหมาย 349 แห่ง พร้อมสนับสนุนงบประมาณเพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียนในเครือข่าย ด้านการเรียนการสอน พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษา คุณภาพสื่อห้องเรียนคุณภาพ จัดสรรครูสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีน และด้านโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนงบประมาณปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างและซ่อมแซม รวมทั้งสิ้นกว่า 4,000 ล้านบาท การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะที่ถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss)สถานการณ์การ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนไม่เต็มศักยภาพ การเรียนออนไลน์วิชาต่าง ๆ ที่บ้านผ่านผู้ปกครองทำให้ขาด“ทักษะทางสังคมมิติ”ในปีการศึกษา 2565 ศธ. มุ่งเน้นให้เป็น “ปีแห่งการเสริมสร้างการศึกษา” โดยเร่งแก้ไขฟื้นฟูการเรียนรู้ช่วงที่สูญเสียไปให้คืนกลับมาเร็วที่สุด ผ่าน “Screening Learning Loss” เพื่อพัฒนานักเรียนให้ได้รับทั้งความรู้ พัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และพัฒนาทักษะครบทุกด้านโดยใช้กิจกรรม “Active Learning” ควบคู่กัน การขับเคลื่อนนโยบาย Coding For All : All For Codingส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) มุ่งเน้นการพัฒนาครูและนักเรียน ให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ มีตรรกะ สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้มีความพร้อมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการบรรลุเป้าหมายนโยบายประเทศไทย 4.0 เปลี่ยนโฉมบทบาทครูยุคใหม่จาก “ผู้สอน” เป็น “ผู้อำนวยความรู้” กว่า 400,000 คน สอดคล้องกับการพัฒนากำลังคนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 3. เสริมสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา พาน้องกลับมาเรียน/ กศน.ปักหมุดสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส เร่งแก้ไขปัญหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาโดยบูรณาการความร่วมมือ 11 กระทรวง พัฒนา Application “พาน้องกลับมาเรียน” เพื่อค้นหา ติดตามนักเรียนตกหล่น ปัจจุบันพาเด็กกลับมาเรียนได้แล้วร้อยละ 99.51 สร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ โครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ”เพื่อการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ สร้างทางเลือกสำหรับผู้เรียนสายอาชีพ และพานักเรียนที่ตกหล่นกลับเข้าสู่ระบบมาตรฐานในสถานศึกษาของรัฐ ระยะเวลาโครงการ 10 ปี (ปีงบประมาณ 2565 – 2575) สร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนมากกว่า 100,000 คน โดยระยะที่ 1 รุ่นที่ 1 (ปวช.1) จำนวน 3,256 คน...
รายละเอียด
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. ได้จัดโครงการประชุมจัดทำกรอบแนวทางการดำเนินงาน โครงการเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมอลิซาเบธ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายพิเชษ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานในการประชุม พร้อมทั้งมอบนโยบาย นอกจากนี้ มีผู้แทนจาก กองส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาในภูมิภาค สป. ผู้แทนจากสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. และบุคลากรจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการประชุมจัดทำกรอบแนวทางการดำเนินงาน โครงการเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นี้ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย และพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อสังคมไทย และเพื่อเป็นการเทิดทูนและแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รายละเอียด
นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดโดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สนย.สป.) ระหว่างวันที่ 19 – 20 มกราคม 2566 ณ โรงแรมเอสดี อเวนิว โดยมีคณะทำงานติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานของ สป. เข้าร่วมประชุม ปลัด ศธ. กล่าวว่า การติดตาม ประเมินผล เป็นการดำเนินงานตามภารกิจของส่วนราชการ ซึ่งการรายงานที่เป็นตัวชี้วัดการทำงาน ที่สำคัญ คือ การรายงานในระบบ eMENSCR ตามที่รัฐบาลกำหนดขึ้น โดยตัวชี้วัดเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณ และการติดตามผล การใช้จ่ายงบประมาณรายไตรมาสและรายปี ส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณในปีถัดไป นอกจากนี้ ผู้ที่ชี้แจงงบประมาณต่อคณะกรรมาธิการฯ ต้องรู้และเข้าใจทั้งในเรื่องงบประมาณ และผลการดำเนินงาน ขอชื่นชม คณะทำงานติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานของ สป. ที่ได้มีการเขียนสรุปงานในครั้งนี้ ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการติดตาม ประเมินผล และหวังว่าการดำเนินการจะเป็นไปตามความมุ่งหมายที่คาดหวัง
รายละเอียด
วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566 นายโกเมศ กลั่นสมจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. พร้อมด้วยบุคลากร สังกัดสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร เนื่องในวันครู พ.ศ. 2566 (ครั้งที่ 67) ณ บริเวณสนามหญ้ากระทรวงศึกษาธิการ
รายละเอียด