นางสุภัทรา สนิทสม นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ นางพิศมัย จันทร์เพ็ชร และนางสาวภัทรินทร์ พูลนิล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ ได้จัดทำ E- Book “เมื่อเผชิญความเปลี่ยนแปลง จะเข้มแข็งได้อย่างไร” เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตในส่วนของการพัฒนาความรู้ ทัศนคติ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้อ่านทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกช่วงวัย
รายละเอียด
ข่าวประชาสัมพันธ์/แจ้งเวียน
ข่าวประชาสัมพันธ์/แจ้งเวียน
วันที่ 5 ธันวาคม 2566นายโกเมศ กลั่นสมจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 1. พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร 89 รูป ณ บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ 2. กิจกรรม ศธ จิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ วัดโสมนัสราชวรวิหาร 3. รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกชั้นสายสะพาย ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ประจําปี 2566 ณ หอประชุมคุรุสภา
รายละเอียด
27 กรกฎาคม 2566 นายโกเมศ กลั่นสมจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. พร้อมด้วย ข้าราชการและบุคลากรของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. ได้เข้าร่วมทำบุญตักรบาตร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 ณ บริเวณสนามหญ้ากระทรวงศึกษาธิการ
รายละเอียด
สามารถรับชมวีดีโอการประชุมจัดทำข้อเสนอการวิจัยของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ได้ที่ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02YEjtFysKHcWy1bVoermbrCoLSBJVonjYNgceRM8QBCfcEgy5jFEYdo8i7vbGWJFTl&id=100064780323946&mibextid=Nif5oz
รายละเอียด
12 เมษายน 2566 – นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) พร้อมด้วยผู้บริหารระดับองค์กรหลัก และหน่วยงานในกำกับ ตลอดจนข้าราชการ และบุคลากรในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมพิธีรดน้ำขอพรผู้อาวุโส เนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ ประจำปี 2566 “ประเพณีสงกรานต์ สืบสานวัฒนธรรมไทย” ณ หอประชุมคุรุสภา ปลัด ศธ. กล่าวว่า สิ่งที่ ศธ.ได้ทำ คือ การให้ความรู้ การศึกษา และอีกสิ่งหนึ่งที่เราขาดไม่ได้ คือ การสืบสานวัฒนธรรมไทย เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นประเพณีสำคัญของคนไทย เป็น Soft Power ที่เราคุ้นชินมาเป็นเวลานาน แต่เราก็ห่างเหินกิจกรรมนี้มา 2-3 ปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 วันสงกรานต์ นอกจากเป็นการฉลองปีใหม่ไทยแล้ว ยังเป็นวันระลึกถึงพระคุณผู้สูงอายุ ในวันนี้เราทุกคนชาว ศธ. มาร่วมประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในกระทรวง ถือเป็นความตั้งใจ ความปรารถนาดีที่น่าชื่นชมของพวกเรา และมีการแต่งกายสีสันต่าง ๆ ทำให้บรรยากาศสดชื่น ทำให้หัวใจเป็นสุขอีกด้วย “ขอให้โอกาสเทศกาลสงกรานต์นี้ เป็นห้วงเวลาแห่งการเสริมสร้างความสุข ความรัก ความสามัคคี ตลอดจนขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ท่านเคารพนับถือ อีกทั้งพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ได้โปรดคุ้มครองอภิบาลรักษาพวกเราเหล่าข้าราชการ ศธ.ให้มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีพลานามัย พลังใจ สติปัญญาในการพัฒนางานของตน และดลบันดาลประทานพรให้มีความสุข ความเจริญ ประสบแต่สิ่งอันพึงปรารถนา ทุกประการ” รับชมภาพกิจกรรมได้ที่Facebook ศธ.360 องศา พบพร ผดุงพล / ข่าว ศธ. 360 องศา / ภาพ,วีดิทัศน์
รายละเอียด
วันที่ 12 เมษายน 2566 นายโกเมศ กลั่นสมจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยบุคลากรของ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. เข้าร่วมพิธีรดน้ำขอพรผู้อาวุโสเนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ ประจำปี 2566 “ประเพณีสงกรานต์ ศึกษาธิการสืบสานวัฒนธรรมไทย” โดยมี นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) เป็นประธาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับองค์กรหลัก และหน่วยงานในกำกับ ตลอดจน ข้าราชการ และบุคลากรในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
รายละเอียด
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 131 ปี วันเสาร์ที่ 1 เมษายน 2566 รมว.ศธ. “ตรีนุช” กล่าวชื่นชมผู้ทำคุณประโยชน์ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น และบุคลากร ศธ. ที่ร่วมผนึกกำลัง ปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา รับชมภาพทั้งหมดFacebook ศธ.360 องศา สำหรับการจัดงานในปีนี้ เริ่มเวลา 07.09 น.โดยนางสาวตรีนุช เทียนทองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพร้อมด้วยคุณหญิงกัลยา โสภณพนิชรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายนิรุตติ สุทธินนท์ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งนายอรรถพล สังขวาสีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ,นายสุเทพ แก่งสันเทียะเลขาธิการสภาการศึกษา,นายอัมพร พินะสาเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดาเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตลอดจนครูอาวุโส ผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากร ศธ. ร่วมประกอบพิธีบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ ศธ.ที่ล่วงลับไปแล้ว และตักบาตรพระสงฆ์ สามเณร จำนวน 132 รูป ณ บริเวณสนามหน้า ศธ. จากนั้น รมว.ศธ. และคณะ ได้ประกอบพิธีพราหมณ์บวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 พร้อมทั้งสักการะพระภูมิหรือพ่อปู่ชัยมงคล และพระพุทธรูปประจำกระทรวงศึกษาธิการ “พระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์ สยามิศรจักรีสัฏฐีอนุสรณ์ ศึกษาทรรังสรรค์” ซึ่งได้มีการจัดพิธีสมโภชฯ ภายหลังจากการบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ที่ผ่านมา และเยี่ยมชมนิทรรศการ “ภาพสีน้ำทางด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 30 เมษายน 2566 โดยศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (ซีมีโอ สปาฟา) มีศิลปินเจ้าของผลงาน อาทิ วัดสรศักดิ์ จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย, ปราสาทบายน ประเทศกัมพูชา, ริมน้ำฮอยอัน ประเทศเวียดนาม, โบสถ์แดง ประเทศมาเลเซีย ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชม ณ โถงอาคารราชวัลลภ เวลา 10.00 น. ที่หอประชุมคุรุสภา– รมว.ศธ. เป็นประธานในพิธีมอบเข็ม “เสมาคุณูปการ” และประกาศเกียรติคุณบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้ ศธ.ประจำปี 2566 จำนวน 131 ราย/รูป รวมทั้งมอบเข็ม “เชิดชูเกียรติ” และประกาศเกียรติบัตรให้กับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ศธ. ประจำปี 2565 จำนวน 10 ราย รมว.ศธ.กล่าวว่า ในโอกาสวันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 131 ปี นับเป็นวันสำคัญของข้าราชการและบุคลากรของ ศธ.ทุกระดับ ที่ได้รับและส่งต่อความรับผิดชอบในภาระหน้าที่ของการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน ซึ่งจะเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญในการนำพาประเทศให้พัฒนาและเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต รัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ชาติระยะยาวในการพัฒนาคนโดยกำหนดแนวทางที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการปรับระบบและรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนสำหรับรองรับโลกในศตวรรษที่ 21 การส่งเสริมความสามารถทางพหุปัญญาผ่านสถานศึกษาและครอบครัว การเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี และการส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียน ซึ่ง ศธ.มีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินการภายใต้แนวทางฯ ดังกล่าว ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคนตามยุทธศาสตร์ชาติที่ได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของบริบทแวดล้อมทางสังคม และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงในปัจจุบัน หรือยุค BANI World (VUCA World + Digital Disruption + สังคมสูงวัย และโรคอุบัติภัยใหม่ ๆ) ศธ.จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตนเองในกรอบวิธีคิดทางด้านการศึกษา เพื่อผลักดันการศึกษาให้มีความเหมาะสมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้เด็กนักเรียน เยาวชน และประชาชนทุกคน ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ตามความถนัด ความชอบ และสามารถเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่พร้อมด้วยความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอาสา วินัย เป็นผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ตลอดจนมีทักษะชีวิตที่จะนำพาตนเองและครอบครัวให้ดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี ของสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ที่ผ่านมา นับเป็นตัวอย่างและเป็นบทเรียนสำคัญ ที่แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของชาว ศธ. ต้องขอบคุณผู้ทำคุณประโยชน์ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง ที่ได้ผนึกกำลังและร่วมมือร่วมใจปฏิบัติงาน ตลอดจนปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษาโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งความก้าวหน้าทางการศึกษาของไทยจะบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ ทุกคนทุกภาคส่วนต้องร่วมกันสร้างและสะสมความสำเร็จอย่างไม่หยุดนิ่งอย่างต่อเนื่องในทุกกิจกรรม และทุก ๆ การลงมือกระทำ เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ “ความท้าทายของชาวกระทรวงศึกษาธิการในการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษา จึงเป็นภารกิจสำคัญที่พวกเราต้องมุ่งมั่นและรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยความสามัคคีที่แน่นแฟ้นมากขึ้น เพื่อให้บังเกิดพลังอันยิ่งใหญ่ในการต่อยอดที่จะผลักดันสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ซึ่งเชื่อมั่นว่าพวกเราจะทำให้เกิดเป็นผลสำเร็จเห็นผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างแน่นอน” ปลัด ศธ.กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงศึกษาธิการได้สถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในชื่อว่า “กระทรวงธรรมการ” มีหน้าที่ในการจัดการพระศาสนา การศึกษา การพยาบาลและพิพิธภัณฑ์ นับถึงวันนี้มีอายุครบ 131 ปี ซึ่งปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและมีหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทของประเทศ สำหรับการจัดงานในวันนี้ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว...
รายละเอียด
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดการประชุมสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อก้าวสู่ปีที่ 131 การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 เพื่อรายงานความสำเร็จการขับเคลื่อนงานตามนโยบายและจุดเน้น 7 หน่วยงานหลัก ในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 131 รมว.ศธ. “ตรีนุช” ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ช่วยกันขับเคลื่อน สร้างคุณภาพการศึกษาทุกมิติ พร้อมย้ำถึงความสำคัญของการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ให้ ศธ.เกิดความเชื่อมั่นไว้วางใจต่อสังคม อย่างต่อเนื่อง ดาวน์โหลดเอกสารทั้ง 7 หน่วยงานที่นำเสนอได้ที่ลิงก์shorturl.at/mpHR5 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(สป.) เริ่มที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ,นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการชี้แจงภาพรวมผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ ศธ. ภารกิจที่เด่นชัดคือ “การดำเนินการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ของเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา” นอกจากนี้ มีอีกหลายเรื่องที่ประสบผลสำเร็จ ได้รับการตอบรับที่ดี และเป็นที่น่าภูมิใจ เช่น อาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ(อส.ศธ.)ศธ.ได้สร้างเครือข่ายคุณครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว ได้มีโอกาสทำงานให้ความรู้ด้านการศึกษาและช่วยเหลือชุมชน ปัจจุบันมียอดผู้สมัครทำงานเป็นอาสาสมัครมากถึง 43,885 คน การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูด้วย 7 มาตรการ ซึ่งได้ทำ MOU กับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงิน ดำเนินการจัดมหกรรมการเงินเพื่อครูไทย แก้ไขปัญหาหนี้สินครู 4 ภาค ซึ่งช่วยให้ครูมีภาระหนี้สินลดลงกว่า 2,000 ล้านบาท มีการยกระดับปรับโครงสร้างหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย ตัดเงินเดือนและควบคุมยอดหนี้ ชะลอการดำเนินการทางกฎหมาย รวมถึงจัดตั้งสถานีแก้หนี้ครู และติดอาวุธให้ความรู้ทักษะทางการเงิน ยูเนสโก (UNESCO)ได้เสนอการเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ประสูติของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์วันที่ 6 พฤษภาคม 2566 ซึ่ง UNESCO ได้มอบรางวัลประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในปี 2565 – 2566 ศธ.ได้ดำเนินการจัดการแสดงดนตรีและนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเพื่อเฉลิมฉลอง กำหนดจัดระหว่างวันที่ 13 – 17 พฤษภาคม 2566 ณ กรุงปารีส และเมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งในวันดังกล่าว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานและทอดพระเนตรกิจกรรม และอีกหนึ่งความพวกภาคภูมิใจในการขับเคลื่อนงาน ศธ.ได้ทำหนังสือถึงคณะรัฐมนตรี ในการเสนอพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ให้ UNESCO ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองในวาระ 100 ปีวันพระราชสมภพในปี 2570 เนื่องจากพระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ ด้วยพระปณิธานแนวแน่ที่จะทำประโยชน์เพื่อประชาชนชาวไทยและสังคมโลก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรายงานผลการดำเนินงานในฐานะที่ดูแลนักเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ทั้งเด็กที่อยู่ในระบบการศึกษาปกติ กลุ่มเด็กด้อยโอกาส อยู่ในศูนย์อพยพ และเด็กพิเศษโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย โดยกล่าวถึงภาพรวมใน 4 มิติ ที่เน้นด้านคามปลอดภัย คุณภาพ โอกาส และประสิทธิภาพทางการศึกษา มีหลายโครงการที่ดำเนินการ เช่น ความปลอดภัยในสถานศึกษาพร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง โดยจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ จัดทำคู่มือการดำเนินการ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สร้างโครงการ 1 โรงเรียน 1 ครูอนามัย เพื่อสร้างการรับรู้การช่วยชีวิตพื้นฐาน และดูแลสุขภาวะร่างกายสุขภาวะจิตใจ ประเมินความเสี่ยงโรคซึมเศร้าในเด็กหลังสถานการณ์ Covid-19 โครงการพาน้องกลับมาเรียนให้โอกาสไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตามเด็กที่ออกนอกระบบกลับมาศึกษาต่อ เด็กตกหล่นทุกคนต้องมีที่เรียน Active Learningการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ดำเนินการให้โรงเรียนในสังกัดปรับมาตรการการสอนให้เป็นหลักสูตร Active Learning 100% ทุกโรงเรียน โรงเรียนคุณภาพทำโรงเรียนทุกขนาดให้มีคุณภาพเท่าเทียมกัน ลดความเหลื่อมล้ำได้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงศ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษารายงานการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการสู่การพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง เพื่อการพัฒนาประเทศ ด้วย 4 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษา และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา)มุ่งเน้นการจัดการเรียนหลักสูตรทวิศึกษา โดยเฉพาะในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ / ศึกษาสงเคราะห์ / โครงการพระราชดำริ มีผู้ประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนมากกว่า 5,000 คน จัดแผนการเรียนแบบกลุ่มวิชาอาชีพ (โมดูลอาชีพ) การเรียนรู้แบบบูรณาการงานอาชีพ (Work Based Learning) เพื่อนำไปสู่การฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ มีการทดสอบสมรรถนะวิชาชีพก่อนจบการศึกษา และมีสมรรถนะตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา EXCELLENT CENTERเพื่อสร้างความเป็นเลิศเฉพาะทาง ตอบโจทย์กำลังคนสมรรถนะสูง ปัจจุบันมีจำนวน 170 ศูนย์ ดำเนินการพัฒนาความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถส่งนักเรียน-นักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์จากสถานประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยระยะต่อไปจะมีการพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสมรรถนะที่สถานประกอบการต้องการ รวมถึงได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทวิภาคีคุณภาพสูงโดยสถานศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพัฒนาหลักสูตร สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมสมรรถนะด้านอาชีพ เรียนจบมีงานทำทันที โดยเปิดสาขาใหม่ เช่น สาขาโลจิสติกส์การบิน สาขายานยนต์ไฟฟ้า EV สาขาหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม เป็นต้น ขณะนี้มีสถานศึกษาของรัฐเข้าร่วม 433 แห่ง สถานศึกษาเอกชน 444 แห่ง...
รายละเอียด
28 มีนาคม 2566 – สรุปมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ เห็นชอบให้ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทฯ 97 รูป ถวายพระกุศลสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 8 รอบ 26 มิถุนายน 2566เป็นเวลา 17 วัน ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2566 โดยไม่ถือเป็นวันลาและรับทราบรายงานประจำปี 2565 ของ สสวท. เห็นชอบให้ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง ลาอุปสมบท คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท 97 รูป ถวายพระกุศล สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 8 รอบ 26 มิถุนายน 2566 โดยไม่ถือเป็นวันลา เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการและได้รับเงินเดือนตามปกติ ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2566 (รวม 17 วัน) ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม รายละเอียดดังนี้ การดำเนินการ วัน/เวลา/สถานที่ (1) การรับสมัครเข้าร่วมโครงการฯ วันที่ 20 กุมภาพันธ์-31 มีนาคม 2566 (2) การตรวจสอบคุณสมบัติ เดือนเมษายน 2566 (3) การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ เดือนพฤษภาคม 2566 (4) การเตรียมดำเนินโครงการฯ เช่น จัดหาเครื่องอัฐบริขารและการขอมติคณะรัฐมนตรีโดยไม่ถือเป็นวันลา เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2566 (5) พิธีปลงผม วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (6) พิธีรับประทานผ้าไตรและเข้ารับประทานพระโอวาทจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วันที่ 16 มิถุนายน 2566 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (7) พิธีบรรพชาอุปสมบท วันที่ 17 มิถุนายน 2566 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (8) ศึกษาและปฏิบัติธรรม วันที่ 18-30 มิถุนายน 2566 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดพระยายัง กรุงเทพมหานคร (9) พิธีทำบุญตักบาตร ถวายพระกุศลแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วันที่ 26 มิถุนายน 2566 (10) พิธีลาสิกขา วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม รับทราบรายงานประจำปี 2565 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอรายงานประจำปี 2565 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2541 มาตรา 33 ที่บัญญัติให้ สสวท. จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยแสดงงบดุลบัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรองรับว่าถูกต้องพร้อมกับรายงานของผู้สอบบัญชี รวมทั้งแสดงผลงานของ สสวท. ในปีที่ล่วงมาและแผนงานที่จะจัดทำในปีต่อไปภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอรายงานประจำปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. ผลการดำเนินงานของ สสวท. ประจำปี 2565 ใน 5 ยุทธศาสตร์ได้แก่ 1.1 การพัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติการและการสร้างความเข้าใจในระดับที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละกลุ่มโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆเช่น การพัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการวิเคราะห์การแก้ปัญหา และกระตุ้นให้เกิดและใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบสำหรับโรงเรียนในโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ1(เช่น พัฒนากิจกรรมวิทยาศาสตร์ในเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสะเต็มศึกษา2) และการพัฒนาเครื่องมือที่เป็นกรอบการประเมินและข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับคัดเลือกนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2565 (TCAS 65) นอกจากนี้ ยังได้จัดทำรายงานการวิจัยเพื่อศึกษาคุณภาพของข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการคัดเลือกนักเรียน ทำให้ได้ประเด็นและสารสนเทศสำหรับใช้เป็นแนวทางในการวางแผนเชิงนโยบายในการพัฒนาการเรียนการสอนและเตรียมนักเรียนให้มีคุณลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป 1.2 การขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และสถานศึกษาผ่านเครือข่าย สสวท. ให้มีคุณภาพทั่วประเทศอย่างเป็นระบบเช่น การพัฒนาครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนโครงการพระราชดำริในรูปแบบออนไลน์ด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง สสวท. ด้วยสื่อ Project 143วิชาคณิตศาสตร์ ให้แก่ครูโรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดน จำนวน 608 คน และการยกระดับคุณภาพโรงเรียนระดับอำเภอด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (โรงเรียนคุณภาพ SMT)4ตามมาตรฐาน...
รายละเอียด