ข่าวประชาสัมพันธ์/แจ้งเวียน
ข่าวประชาสัมพันธ์/แจ้งเวียน
กระทรวงศึกษาธิการ 9 มีนาคม 2565 – นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีสมโภชหอพระพุทธรูปประจำกระทรวงศึกษาธิการ และพระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์ สยามมิศรจักรีสัฏฐีอนุสรณ์ ศึกษาทรรังสรรค์ พระพุทธรูปประจำกระทรวงศึกษาธิการโดยคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศธ. นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการ รมว.ศธ. นายอรรถพล สังขวาสี ปลัด ศธ. ตลอดจนผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และบุคลากรในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมพิธีณ สนามหญ้าหน้ากระทรวงศึกษาธิการ รับชมภาพทั้งหมดshorturl.at/cqrR1 รมว.ศธ. จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาอาราธนาศีล พระสงฆ์ 10 รูปบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาอาราธนาพระปริตร พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ รมว.ศธ.ถวายผ้าไตรแด่พระสงฆ์ 10 รูป พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ 108 รูป กรวดน้ำ และกราบลาพระรัตนตรัย จากนั้น รมว.ศธ. พร้อมด้วย รมช.ศธ. และผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และบุคลากร ร่วมทำบุญตักบาตรแด่พระสงฆ์ จำนวน 108 รูป เป็นอันเสร็จพิธี และรับประทานอาหารเช้าร่วมกัน โดยทุกส่วนราชการในสังกัด/ในกำกับ และสถานศึกษา จัดเตรียมอาหาร เครื่องดื่ม อาหารว่าง สำหรับผู้เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ สำหรับหอพระพุทธรูปประจำกระทรวงศึกษาธิการ ได้สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ในโอกาสครบ 100 ปี ปัจจุบันมีสภาพชำรุดทรุดโทรมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. ได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยมีพิธีเททองหล่อตราเสมาธรรมจักร เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2566 และเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจิมองค์เสมาธรรมจักร และทรงพระสุหร่าย พร้อมประทานพร เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เพื่อความเป็นสิริมงคลในการนำมาประดิษฐาน และจัดพิธีสมโภชในครั้งนี้ สำหรับการบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูป และหอพระพุทธรูปประจำกระทรวงศึกษาธิการในครั้งนี้ ได้รับการบริจาคจากข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคทรัพย์บูรณะ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 921,447.43 บาท
รายละเอียด
วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม 2566 นายโกเมศ กลั่นสมจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. พร้อมด้วยบุคลากรสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. เข้าร่วมพิธีสมโภชหอพระพุทธรูปประจำกระทรวงศึกษาธิการ และพระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์ สยามมิศรจักรีสัฏฐีอนุสรณ์ ศึกษาทรรังสรรค์ พระพุทธรูปประจำกระทรวงศึกษาธิการ และร่วมทำบุญตักบาตรแด่พระสงฆ์ จำนวน 108 รูป ณ สนามหญ้าหน้ากระทรวงศึกษาธิการ
รายละเอียด
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ฉบับจัดทําคําของบประมาณรายจ่ายประจําปี) ทั้งนี้ การจัดทำแผนปฏิบัติราชการดังกล่าว สําหรับใช้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานและจัดทําคําของบประมาณรายจ่ายประจําปีของ สป.ศธ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สอดคล้องกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 มติคณะรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับปรับปรุง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570 (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) นโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปี พ.ศ. 2567 นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 บริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วิสัยทัศน์ สป.ศธ. “บูรณาการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนมีคุณภาพและทักษะที่จําเป็นในโลกยุคใหม่” พันธกิจ ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารและจัดการศึกษาแบบบูรณาการทุกระดับ ทุกพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม เหมาะสมตามศักยภาพและช่วงวัยของผู้เรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลและพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่
รายละเอียด
กระทรวงศึกษาธิการ 8 กุมภาพันธ์ 2566 – นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมเตรียมข้อมูลประกอบการอภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 152 ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์นี้ รองปลัด ศธ. กล่าวว่า ที่ประชุมได้จัดเตรียมข้อมูลประกอบการอภิปรายทั่วไป มาตรา 152 ในส่วนของนโยบายและผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ ใน 6 ประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1. ความปลอดภัยของผู้เรียน MOE Safety Centerศธ.ได้จัดตั้ง “ศูนย์ความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ” เพื่อช่วยเหลือดูแลนักเรียน นักศึกษา ให้มีความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงสร้างทักษะให้ดูแลตนเองจากอันตรายทางสังคมตาม 3 มาตรการ “ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม” ผ่านแพลตฟอร์ม ต่าง ๆ ในการแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัยและติดตามข่าวสาร การแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กและเยาวชนศธ.ให้ต้นสังกัดทั้งรัฐและเอกชนเร่งสร้างการรับรู้ความเข้าใจที่มาจากบุหรี่ไฟฟ้า ยึดกฎ ระเบียบ เช่นเดียวกับการห้ามสูบบุหรี่ธรรมดา ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาเป็นเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด พร้อมออกมาตรการและนโยบายให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมขับเคลื่อนระหว่างโรงเรียนกับชุมชน แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาหรือกัญชงในสถานศึกษา ส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัดหรือในกำกับของ ศธ.มีการประกาศแนวทางการปฏิบัติ ห้ามนักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากรในส่วนราชการใช้กัญชาหรือกัญชง (ยกเว้นภายใต้การควบคุมของแพทย์) ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกัน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขตามกระบวนการ 5 ด้าน “ป้องกัน ค้นหา ดูแลบำบัดรักษา เฝ้าระวัง และบริหารจัดการ” โดยร่วมกำกับควบคุมร้านค้าที่จำหน่ายบริเวณสถานศึกษา ส่วนราชการ และร่วมพัฒนาองค์ความรู้จัดทำคู่มือ “รู้คิด รู้ทันป้องกันยาเสพติด Be Smart Say No To Drugs” การบูลลี่ในโรงเรียนศธ.ได้ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาบูลลี่ในสถานศึกษาอย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยวางมาตรการต่าง ๆ ให้รัดกุม สร้างการรับรู้ให้เด็กนักเรียนพร้อมรับมือ และให้ครูที่มีบทบาทหน้าที่ช่วยงดูแลพฤติกรรมนักเรียนอย่างทั่วถึง แนะแนวปัญหาสุขภาพจิตให้เด็กกล้าพูด กล้าระบายปัญหาต่าง ๆ โดยไม่เปิดเผยข้อมูล เพื่อให้นักเรียนมีความปลอดภัยในทุกมิติ การล่วงละเมิดทางเพศนักเรียน ศธ.ได้กำชับสถานศึกษาเรื่องการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ หากครูและบุคลากรทำผิดต้องดำเนินการทางกฎหมายและลงโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด ส่วนนักเรียนผู้ถูกกระทำ ต้องเข้าไปช่วยเหลือดูแลเยียวยาจิตใจ โดยครูแนะแนว นักจิตวิทยา และหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกับผู้ปกครอง 2. คุณภาพการศึกษา โครงการโรงเรียนคุณภาพศธ.พัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อให้นักเรียนเข้าถึงคุณภาพ มีทักษะหลากหลายด้าน เมื่อจบหลักสูตรสามารถประกอบอาชีพได้ มีกลุ่มเป้าหมาย 349 แห่ง พร้อมสนับสนุนงบประมาณเพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียนในเครือข่าย ด้านการเรียนการสอน พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษา คุณภาพสื่อห้องเรียนคุณภาพ จัดสรรครูสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีน และด้านโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนงบประมาณปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างและซ่อมแซม รวมทั้งสิ้นกว่า 4,000 ล้านบาท การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะที่ถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss)สถานการณ์การ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนไม่เต็มศักยภาพ การเรียนออนไลน์วิชาต่าง ๆ ที่บ้านผ่านผู้ปกครองทำให้ขาด“ทักษะทางสังคมมิติ”ในปีการศึกษา 2565 ศธ. มุ่งเน้นให้เป็น “ปีแห่งการเสริมสร้างการศึกษา” โดยเร่งแก้ไขฟื้นฟูการเรียนรู้ช่วงที่สูญเสียไปให้คืนกลับมาเร็วที่สุด ผ่าน “Screening Learning Loss” เพื่อพัฒนานักเรียนให้ได้รับทั้งความรู้ พัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และพัฒนาทักษะครบทุกด้านโดยใช้กิจกรรม “Active Learning” ควบคู่กัน การขับเคลื่อนนโยบาย Coding For All : All For Codingส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) มุ่งเน้นการพัฒนาครูและนักเรียน ให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ มีตรรกะ สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้มีความพร้อมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการบรรลุเป้าหมายนโยบายประเทศไทย 4.0 เปลี่ยนโฉมบทบาทครูยุคใหม่จาก “ผู้สอน” เป็น “ผู้อำนวยความรู้” กว่า 400,000 คน สอดคล้องกับการพัฒนากำลังคนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 3. เสริมสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา พาน้องกลับมาเรียน/ กศน.ปักหมุดสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส เร่งแก้ไขปัญหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาโดยบูรณาการความร่วมมือ 11 กระทรวง พัฒนา Application “พาน้องกลับมาเรียน” เพื่อค้นหา ติดตามนักเรียนตกหล่น ปัจจุบันพาเด็กกลับมาเรียนได้แล้วร้อยละ 99.51 สร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ โครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ”เพื่อการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ สร้างทางเลือกสำหรับผู้เรียนสายอาชีพ และพานักเรียนที่ตกหล่นกลับเข้าสู่ระบบมาตรฐานในสถานศึกษาของรัฐ ระยะเวลาโครงการ 10 ปี (ปีงบประมาณ 2565 – 2575) สร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนมากกว่า 100,000 คน โดยระยะที่ 1 รุ่นที่ 1 (ปวช.1) จำนวน 3,256 คน...
รายละเอียด
ขอความกรุณาตอบแบบสอบถามความคิดเห็นต่อนโยบายการเปิดกว้าง เสรีทรงผมนักเรียน ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 http://semapoll.moe.go.th/
รายละเอียด
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. ได้จัดโครงการประชุมจัดทำกรอบแนวทางการดำเนินงาน โครงการเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมอลิซาเบธ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายพิเชษ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานในการประชุม พร้อมทั้งมอบนโยบาย นอกจากนี้ มีผู้แทนจาก กองส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาในภูมิภาค สป. ผู้แทนจากสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. และบุคลากรจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการประชุมจัดทำกรอบแนวทางการดำเนินงาน โครงการเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นี้ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย และพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อสังคมไทย และเพื่อเป็นการเทิดทูนและแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รายละเอียด
นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การรับสมัครอาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ) โดยเปิดรับผู้สูงอายุ รวมทั้งครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือคณะกรรมการสถานศึกษา หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (พสน.) หรือผ่านการฝึกอบรมด้านอาสาสมัคร เป็นผู้ที่มีจิตอาสา เข้ามาช่วยงานด้านการศึกษา สอนอาชีพ พัฒนาทักษะวิชาชีพหรืออาชีพเสริมทุกจังหวัด เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 16 มกราคม – 14 กุมภาพันธ์ 2566 กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญกับสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะกลายเป็นวิกฤตหนักของประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับภาคการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย และเป็นการสร้างคุณค่า ความสุขให้กับผู้สูงวัย โดยส่งเสริมผู้สูงอายุกลุ่มที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ/ทักษะชีวิตเป็นครูสอนอาชีพ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานทำและมีรายได้ รวมถึงสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ควบคู่ไปกับการพัฒนาเด็กที่อยู่ในวัยเรียนให้มีความพร้อมทั้งกายใจสติปัญญา พร้อมรองรับการพัฒนาตามช่วงวัยโดยมุ่งเน้นการอ่านออกเขียนได้ ช่วยเหลือด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาการศึกษา จึงประกาศการรับสมัครผู้สูงอายุที่สนใจและมีจิตอาสาเป็นอาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ) ดังนี้ 1. คุณสมบัติของผู้สมัคร 1.1 เป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ 1.2 เป็นผู้ที่สมัครใจ มีจิตอาสา เสียสละ และมีความพร้อมที่จะช่วยงานด้านการศึกษา ครูสอนอาชีพ และพัฒนาทักษะวิชาชีพ/อาชีพเสริม ในพื้นที่จังหวัด 1.3 เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกษียณอายุราชการ/คณะกรรมการสถานศึกษา มีประสบการณ์ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 1.4 เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (พสน.) หรือเป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมด้านอาสาสมัครจากหน่วยงานอื่น เช่น กศน. อพม. อสม. อปพร. กอ.รมน. ฯลฯ 2. การรับสมัคร โครงการมีกำหนดการเปิดรับสมัคร ระหว่างวันที่ 16 มกราคม – 14 กุมภาพันธ์ 2566 โดยผู้สนใจสามารถสมัครได้ที่เว็บไซด์volunteers.moe.go.thหรือwww.moe.go.thหัวข้อ “ข่าวประชาสัมพันธ์” และสามารถขอรับใบสมัครได้ที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทุกจังหวัด ในเวลาราชการ 3. การคัดเลือกบุคคล จำนวนผู้สมัครมีเท่ากับจำนวนที่กำหนด ให้ถือว่าผู้สมัครได้รับการคัดเลือกทุกคน สำหรับในกรณีมีผู้สมัครเกินกว่าจำนวนที่กำหนด ให้อยู่ในดุลยพินิจของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในการพิจารณาคัดเลือกผู้สูงอายุ/บุคคลที่สมัครและแสดงเจตนาเป็น อส.ศธ. (ช่วยงานด้านการศึกษา) ตามคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยให้สำนักงานศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด จัดทำข้อมูลของผู้สมัครทุกกลุ่ม ทุกรายที่สมัคร เพื่อจัดทำเป็นข้อมูลในการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ในระยะต่อไป 4. กิจกรรมดำเนินงานโครงการ ดังนี้ 4.1 กลุ่ม อส.ศธ (ช่วยงานด้านการศึกษา) ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 77 จังหวัด ๆ ละ 50 คน จำนวนทั้งสิ้น 3,850 คน จะต้องได้รับการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ถึงบทบาทหน้าที่ของ อส.ศธ. และแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบในการทำงานก่อนลงพื้นที่ โดยส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการอ่านออกเขียนได้และให้ความช่วยเหลือด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัยให้กับเด็กที่อยู่ในวัยเรียนในพื้นที่ชุมชน โดยมีสำนักงานศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน โดย อส.ศธ. กลุ่มนี้จะได้รับเกียรติบัตรและบัตรประจำตัว 4.2 เด็กที่อยู่ในวัยเรียนในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 77 จังหวัด ๆ ละ 60 คนรวมทั้งสิ้น 4,620 คน ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข และลดปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียน (Learning Loss) จาก อส.ศธ. (ช่วยงานด้านการศึกษา) ด้วยกิจกรรมมุ่งเน้นการอ่านออกเขียนได้และกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิต 4.3 กลุ่ม อส.ศธ. คลังภูมิปัญญาผู้สูงอายุ จากสำนักงาน กศน. จำนวน 7,424 ตำบล ๆ ละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 37,120 คน ส่งเสริมผู้สูงอายุที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ/ทักษะชีวิตในการส่งเสริมการรู้หนังสือ สร้างอาชีพและเพิ่มรายได้จากฝึกอาชีพทั้งหลักสูตรระยะสั้น และระยะยาวให้กับเด็กในวัยเรียน และผู้สูงอายุในชุมชน 4.4 ส่งเสริมการมีงานทำและสร้างรายได้จากวิชาชีพชุมชน ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566
รายละเอียด
วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566 นายโกเมศ กลั่นสมจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. พร้อมด้วยบุคลากร สังกัดสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร เนื่องในวันครู พ.ศ. 2566 (ครั้งที่ 67) ณ บริเวณสนามหญ้ากระทรวงศึกษาธิการ
รายละเอียด
สารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566
รายละเอียด
ขอเชิญทุกท่านร่วมตอบเเบบสอบถามความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ความเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล) ผ่านทาง https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeoWXT0NW8yYaWFYKf0-2kICKcetSSZpxp_WPRG6ATy3Zianw/viewform หรือ สแกน Qr Code ด้านล่าง
รายละเอียด
นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผย 6 นโยบายและจุดเน้น ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย การยกระดับคุณภาพการศึกษา การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาระบบราชการและการบริหารภาครัฐยุคดิจิทัล การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
รายละเอียด
ขอเชิญร่วมประกวด การแต่งกายและเดินแฟชั่นโชว์ “หนูน้อยแห่งวังจันทรเกษม…ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ในงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 วันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 เวลา 13.00-15.00 น. ณ เวทีกลาง กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ อ่านรายละเอียดและสมัครได้ที่ลิงก์ https://forms.gle/j8wkM9qhpzy8J4fH9
รายละเอียด
ดร.อรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการไม่ให้และไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565
รายละเอียด